กฏหมายที่เกี่ยวข้องกับการแต่งรถจักรยานยนต์

พรบ.ต่อไปนี้ผมจะเอามาเฉพาะส่วนที่เกี่ยวข้องนะครับ

iy5187
พระราชบัญญัติ รถยนต์ พ.ศ.2522 ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2522 เป็นปีที่ 34 ในรัชกาลปัจจุบัน
มาตรา 12 รถใดที่จดทะเบียนแล้ว หากปรากฏในภายหลังว่ารถนั้นมีส่วนควบหรือเครื่องอุปกรณ์ สำหรับรถไม่ครบถ้วนถูกต้องตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
หรือ เพิ่มสิ่งใดสิ่งหนึ่งเข้าไปซึ่งอาจก่อให้เกิด อันตรายแก่ร่างกายหรือจิตใจของผู้อื่น ห้ามมิให้ผู้ใดใช้รถนั้นจนกว่าจะจัดให้มีครบถ้วนถูกต้องหรือ เอาออกแล้ว
ในกรณีที่นายทะเบียนเห็นว่าเจ้าของรถไม่อาจจัดให้มีครบถ้วนถูกต้องหรือเอาออกได้ ให้ นายทะเบียนสั่งเพิกถอนการจดทะเบียนรถนั้น
เจ้าของรถมีสิทธิอุทธรณ์เป็นหนังสือต่ออธิบดีได้ภายในสิบห้าวันนับแต่วันทราบคำสั่งของ นายทะเบียน คำวินิจฉัยของอธิบดีให้เป็นที่สุด
มาตรา 14 รถใดที่จดทะเบียนแล้ว ห้ามมิให้ผู้ใดเปลี่ยนแปลงตัวรถหรือส่วนใดส่วนหนึ่งของรถ ให้ผิดไปจากรายการที่จดทะเบียนไว้และใช้รถนั้น
เว้น แต่เจ้าของรถนำรถไปให้นายทะเบียน ตรวจสภาพก่อน ในกรณีที่นายทะเบียนเห็นว่ารถที่เปลี่ยนแปลงตามวรรคหนึ่งอาจก่อให้เกิด อันตรายในเวลาใช้
ให้สั่งเจ้าของรถแก้ไขและนำรถไปให้ตรวจสภาพก่อนใช้ และให้นำ มาตรา 12 วรรคสอง วรรคสาม และวรรคสี่ มาใช้บังคับโดยอนุโลม
แต่ถ้านายทะเบียนเห็นว่ารถนั้นปลอดภัยในเวลาใช้ให้แก้ไข เพิ่มเติมรายการในทะเบียนและใบคู่มือจดทะเบียนรถนั้นด้วย
มาตรา 60  ผู้ใดทำการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตาม ม.12,14 และฯลฯ..ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองพันบาท
การแต่งรถของนั้นถ้าไม่ขัดต่อหลักกฎหมายแล้วก็สามารถทำได้ ถ้าการแต่งนั้นมีความปลอดภัยเพียงพอ
มิได้เปลี่ยนแปลงตัวรถหรือส่วนหนึ่งส่วนใดของตัวรถให้ผิดไปจากรายการที่จดทะเบียนไว้
ดัง นั้นการแต่งรถก็ควรจะแต่งในลักษณะที่ไม่ขัดต่อกฎหมาย หรือเป็นเพียงเสริมอุปกรณ์เพียงเล็กน้อยไม่ทำให้สภาพของรถเปลี่ยนแปลงไป มีความแข็งแรง
ปลอดภัยในการใช้งานและไม่ก่อให้เกินอันตรายแก่กายหรือจิตใจของผู้อื่นก็สามารถกระทำได้
นี่คือมาตรฐานการวัดครับ
กฎหมายที่เกี่ยวข้องในการจัดการปัญหามลพิษทางเสียงจากยานพาหนะ
• มาตรฐาน /วิธีการตรวจวัด/ ข้อกำหนดเกี่ยวกับเสียงของยานพาหนะ
• ข้อหาหรือฐานความผิด
1. มาตรฐาน /วิธีการตรวจวัด/ ข้อกำหนดเกี่ยวกับเสียงของยานพาหนะ
พ.ร.บ..ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2535  ประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดระดับเสียงของรถยนต์
ระดับเสียงในขณะที่เดินเครื่องยนต์อยู่กับที่โดยไม่รวมเสียงแตรสัญญาณ ต้องมีระดับเสียงไม่เกิน 100 เดซิเบลเอ
เมื่อตรวจวัดที่ระยะห่างจากรถยนต์ 0.5 เมตร หรือ 85 เดซิเบลเอ เมื่อตรวจวัดที่ระยะ 7.5 เมตร
ประกาศกระ ทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดระดับเสียงของรถจักรยานยนต์  ระดับเสียงในขณะที่เดินเครื่องยนต์อยู่กับที่โดยไม่รวมเสียงแตรสัญญาณ
ต้องมีระดับเสียงไม่เกิน 95 เดซิเบลเอ เมื่อตรวจวัดระดับเสียงในระยะห่างจากรถจักรยานยนต์ 0.5 เมตร
เพียงเรารู้จักสิทธิของเรา อย่าให้เขามายัดเยียดความผิด

ส่วนข้อหาดัดแปลง การเปลี่ยนท่อมันไม่ผิดอะไรตามที่พรบ.กำหนดเลยครับ
เพราะเขาห้ามดัดแปลงให้ผิดไปจากเอกสารจดทะเบียน และการดัดแปลงไม่ทำให้เกิดความไม่ปลอดภัยหรืออันตราย
ล้อเล็กยางเล็ก ผิดไหมในข้อหาดัดแปลง?
ถ้าจนท.วินิจฉัยว่าเล็กเกินจะปลอดภัยนี่ผิดครับ
แต่ท่อสูตรที่ไม่ดังเกินกำหนดล่ะผิดข้อหาดัดแปลงไหม?
ท่อสูตรมันคงไม่ทำให้ใครเจ็บอะไรนะครับ จริงไหม อิอิ

ไม่มีมาตราไหนระบุว่าคนขับรถต้องใช้ท่อไอเสียที่ต้องมีมอก.ครับ
ระเบียบกำหนดแค่ระดับเสียงเท่านั้นครับ
แต่บริษัทผู้ผลิตต่างหาก ที่ต้องใช้สินค้าที่มีมอก.มาประกอบในรถที่จะขาย
โปรดอ่านอีกครั้ง
มาตรา 12 รถใดที่จดทะเบียนแล้ว หากปรากฏในภายหลังว่ารถนั้นมีส่วนควบหรือเครื่องอุปกรณ์ สำหรับรถไม่ครบถ้วนถูกต้องตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
หรือ เพิ่มสิ่งใดสิ่งหนึ่งเข้าไปซึ่งอาจก่อให้เกิด อันตรายแก่ร่างกายหรือจิตใจของผู้อื่น ห้ามมิให้ผู้ใดใช้รถนั้นจนกว่าจะจัดให้มีครบถ้วนถูกต้องหรือ เอาออกแล้ว
ในกรณีที่นายทะเบียนเห็นว่าเจ้าของรถไม่อาจจัดให้มีครบถ้วนถูกต้องหรือเอาออกได้ ให้ นายทะเบียนสั่งเพิกถอนการจดทะเบียนรถนั้น
เจ้าของรถมีสิทธิอุทธรณ์เป็นหนังสือต่ออธิบดีได้ภายในสิบห้าวันนับแต่วันทราบคำสั่งของ นายทะเบียน คำวินิจฉัยของอธิบดีให้เป็นที่สุด

มาตรา 14 รถใดที่จดทะเบียนแล้ว ห้ามมิให้ผู้ใดเปลี่ยนแปลงตัวรถหรือส่วนใดส่วนหนึ่งของรถ ให้ผิดไปจากรายการที่จดทะเบียนไว้และใช้รถนั้น
เว้น แต่เจ้าของรถนำรถไปให้นายทะเบียน ตรวจสภาพก่อน ในกรณีที่นายทะเบียนเห็นว่ารถที่เปลี่ยนแปลงตามวรรคหนึ่งอาจก่อให้เกิด อันตรายในเวลาใช้
ให้สั่งเจ้าของรถแก้ไขและนำรถไปให้ตรวจสภาพก่อนใช้ และให้นำ มาตรา 12 วรรคสอง วรรคสาม และวรรคสี่ มาใช้บังคับโดยอนุโลม
แต่ถ้านายทะเบียนเห็นว่ารถนั้นปลอดภัยในเวลาใช้ให้แก้ไข เพิ่มเติมรายการในทะเบียนและใบคู่มือจดทะเบียนรถนั้นด้วย

และถ้าบอกว่าเราดัดแปลงสภาพรถ เราก็ไม่ผิดครับ

ในเมื่อ ม.14 บอกว่าห้ามมิให้ผู้ใดเปลี่ยนแปลงตัวรถหรือส่วนใดส่วนหนึ่งของรถ ให้ผิดไปจากรายการที่จดทะเบียนไว้และใช้รถนั้น

ซึ่งแน่นอนว่า เอกสารที่จดทะเบียน ไม่มีรายการไหนระบุว่าคุณใช้ท่อไอเสียแบบไหน

การ ตกแต่งส่วนอื่นๆก้เช่นกัน ตราบใดที่ยังเป้นสองล้อใช้โซ่ขับ สีถูกต้อง ความจุถูกต้อง(ใครจะรื้อเครื่องมาวัด?) ไม่ได้เปลี่ยนไปใช้แกส หรือดีเซล(5555)

และ การดัดแปลงนั้นไม่ได้ทำให้ใครเสียหายหรือเสี่ยงต่ออันตรายเช่นลงยาง หนังสติ๊กแบบเด็กแว้น หรือเอากระจกมองหลังออก หรือใส่ของแต่งสั้นจู๋ ตาม ม.12

ก็ไม่มีความผิดครับ

Leave a comment